ข้อมูล อบต.

ข้อมูลบุคลากร

การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ข้อมูลการดำเนินงาน

ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี

การจัดซื้อจัดจ้าง

การปฏิบัติงาน

การป้องกันการทุจริตในหน่วยงาน

เรื่องร้องเรียนการทุจริต

บริการประชาชน

บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ลิ้งค์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ร้องเรียนร้องทุกข์/รับฟังความคิดเห็น

ร้องเรียนร้องทุกข์เกี่ยวกับการทุจริต

แบบสำรวจความพึงพอใจ

E-Service

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน

ข่าวประชาสัมพันธ์

สาระน่ารู้ บุหรี่เลิกยาก แต่เลิกได้

เชื่อว่าคนติดบุหรี่เกือบทุกคนรู้ถึงภัยอันตรายของบุหรี่ แต่ด้วยสารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ สามารถผ่านเข้าสู่สมองในเวลาเพียง 7 วินาที จากนั้นนิโคตินจะถูกทยอยดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและทำปฏิกิริยาต่อสมอง ทำให้รู้สึกอยากสูบต่อไปอีกเรื่อยๆ หากไม่ได้สูบบุหรี่ระดับนิโคตินเริ่มลดต่ำลงส่งผลให้รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์เสีย บางรายอาจถึงขั้นทำลายข้าวของหรือทำร้ายร่างกายตนเองหรือผู้อื่น

ควันบุหรี่มีสารเคมีและสารพิษรวมกันมากกว่า 4,000 ชนิด  ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบทำงานต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงมีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60  ชนิด  โดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งช่องปาก  ทั้งนี้ยังพบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูบบุหรี่เสียชีวิต คือโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง  
นอกจากนี้การสูบบุหรี่และได้รับควันบุหรี่ ยังก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ถุงลมโป่งพอง  ปอดบวม และวัณโรค  การสูบบุหรี่หลายมวนต่อวันติดต่อกันเป็นเวลานานยังทำสุขภาพทรุดโทรมจนเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น กระดูกพรุน เบาหวาน

การเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง

  • ตั้งเป้าหมายและแรงบันดาลใจเพื่อเลิกบุหรี่
  • สำรวจความพร้อม ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
  • อย่าเก็บตัว ออกไปพบเพื่อน เดินเล่น หรือหากิจกรรมต่างๆ ทำ เพื่อไม่ให้นึกถึงบุหรี่ โดยเฉพาะการออกกำลังกาย จะช่วยให้เพลิดเพลินและมีร่างกายที่แข็งแรงขึ้น
  • หลีกเลี่ยงบรรยากาศหรือกลุ่มเพื่อนที่สูบบุหรี่ หากมีบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่ ควรชวนกันเลิกและเป็นกำลังใจให้กัน
  • ปรับกิจวัตรประจำวัน  หากคุ้นเคยกับการสูบบุหรี่ในห้องน้ำ ลองเปลี่ยนเป็นอ่านหนังสือ ส่วนผู้ที่สูบบุหรี่หลังอาหาร อาจรีบบ้วนปากหลายๆ ครั้ง ทันทีหลังรับประทานอาหาร
  • หากรู้สึกหงุดหงิด อยากสูบบุหรี่มาก ซึ่งมักเกิดในช่วง 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือนแรก อาจใช้วิธีเคี้ยวหรืออมผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะนาว หรือมะยม

ตัวช่วยทางการแพทย์ในการเลิกบุหรี่    อย่างไรก็ตามการเลิกสูบบุหรี่ด้วยตัวเองอาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในผู้มีจิตใจเข้มแข็งและแน่วแน่ แต่ในหลายกรณีพบว่าหลายคนล้มเหลว สถิติการเลิกบุหรี่พบว่าผู้สูบบุหรี่ที่พยายามเลิกสูบบุหรี่ต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ย 9 – 11 ครั้งกว่าจะทำได้สำเร็จและเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด สิ่งสำคัญคือต้องไม่ยอมแพ้แม้จะพยายามเลิกบุหรี่มากกว่า 2–3 ครั้งแล้วก็ตาม  เนื่องจากนิโคตินเป็นสารเสพติดที่ต้องใช้เวลา  แต่หากไม่สามารถเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง อาจต้องพึ่งพาการแพทย์เป็นตัวช่วย  ดังนี้

1.     การฝังเข็ม เป็นการรักษาแบบทางเลือก เพื่อช่วยลดความอยากสูบบุหรี่และบรรเทาความวิตกกังวล

2.     ยาเลิกบุหรี่ ซึ่งควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ เนื่องจากนิโคตินเป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรง การเลิกบุหรี่คือการสู้กับผลข้างเคียงของการขาดสารนิโคติน แพทย์อาจเลือกใช้ยาแตกต่างกันโดยพิจารณาจากปริมาณและระยะเวลาของการสูบบุหรี่ในผู้ต้องการเลิกบุหรี่แต่ละราย ดังนี้

สารนิโคตินทดแทน (Nicotine replacement therapy-NRT)

โดยนิโคตินทดแทนจะเข้าสู่ร่างกายในขนาดตํ่าๆ เพื่อระงับอาการขาดนิโคติน จากนั้นนิโคตินจะลดลงเรื่อยๆ จนหมด  มีทั้งในรูปแบบของหมากฝรั่งและแผ่นแปะ

  • หมากฝรั่งนิโคติน  (Nicotine gum) เหมาะสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่น้อยกว่า 20 มวนต่อวัน  หมากฝรั่ง 1 ชิ้น ประกอบด้วยนิโคติน ขนาด 2 mg โดยการเคี้ยว 1–2 ชิ้น เมื่อมีอาการอยากบุหรี่ และไม่ควรใช้เกินวันละ 25 ชิ้น รวมถึงไม่ควรใช้นานเกิน 6 เดือน
  • แผ่นแปะนิโคติน ( Nicotine patch) เหมาะกับผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวน ต่อวัน  ซึ่งแผ่นแปะมีส่วนผสมของนิโคตินตั้งแต่ 10–30 mg ผู้ที่สูบบุหรี่น้อยกว่า 20 มวนต่อวัน ใช้ขนาด 20  mg ติดในบริเวณที่ไม่มีขน เช่น ต้นคอ สะโพก หรือแขน โดยติดนาน 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 6–8 สัปดาห์ จากนั้นลดขนาดยาลงเป็น  10 mg เป็นเวลา 3–4 สัปดาห์ ส่วนผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวัน ใช้ขนาด 30 mg ติด 24 ชั่วโมง 3–4 สัปดาห์ จากนั้นลดขนาดยาลงเป็นขนาด 20 mg เป็นเวลา 3–4 สัปดาห์ และลดลงเหลือ 10 mg อีก 3–4 สัปดาห์

ยากลุ่มที่ไม่มีส่วนผสมของสารนิโคติน (Nonnicotine medication)

ยาเม็ดรับประทาน ไม่มีส่วนประกอบของนิโคติน เพื่อช่วยให้เลิกสูบบุหรี่โดยเฉพาะ  ได้แก่

  • Varenicline (Champix) ตัวยาจะช่วยบล็อกตัวรับนิโคตินในสมอง โดยออกฤทธิ์ ทาง ช่วยลดความสุขในการสูบบุหรี่ และลดอาการขาดสารนิโคติน  ขนาดยามีตั้งแต่ 0.5–1 mg รับประทานวันละ 1–2 ครั้งขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ผู้ทำการรักษา
  • Nortriptyline เป็นยาต้านเศร้าในกลุ่ม Tricyclic antidepressants   ช่วยลดความเครียด ทำให้ความรู้สึกดีขึ้น  ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและมีปัญหาหลอดเลือด รวมถึงโรคทางสมองและระบบประสาท

การรักษาการเลิกสูบบุหรี่ด้วยยาไม่ว่าจะเป็นแบบใช้สารนิโคตินทดแทนหรือยากลุ่มที่ไม่มีส่วนผสมของสารนิโคติน ควรได้รับคำแนะนำและพิจารณารักษาโดยแพทย์ ซึ่งจะให้คำแนะนำ การปฏิบัติตน รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น  และอธิบายผลที่จะได้รับจากการรักษาด้วยยา

เมื่อเลิกบุหรี่ได้แล้ว ผลที่ตามมาคือลดความเสี่ยงของโรค โดยเฉพาะมะเร็งปอด ทำให้สุขภาพดีขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตจะกลับสู่ปกติ   การอักเสบในปอดลดลงช่วยให้ระดับออกซิเจนในเลือดดีขึ้น  ซึ่งเกิดประโยชน์มากมายตามมาเมื่อเลิกบุหรี่สำเร็จ

 

วันที่โพส 27 พ.ค. 2565